ปรัชญา ของ เค็งโงะ คูมะ

คูมะระบุว่าเป้าหมายของเขาคือการฟื้นฟูธรรมเนียมของสิ่งปลูกสร้างแบบญี่ปุ่น และเพื่อตีความใหม่ (reinterpret) ธรรมเนียมเหล่านี้ให้เข้ากับบริบทของศตวรรษที่ 21 ในปี 1997 เขาชนะรางวัลจากสถาบันสถาปัตยกรรมศาสตร์ญี่ปุ่น และในปี 2009 ได้รับการแต่งตั้งเป็น Officier de L'Ordre des Arts et des Lettres ในฝรั่งเศส คูมะบรรยายและเขียนหนังสือกับบทความจำนวนมากที่พูดคุยและวิจารณ์การเข้าใจ (approaches) สถาปัตยกรรมร่วมสมัย เอกสารงานสัมมนา Anti-Object: The Dissolution and Disintegration of Architecture เขียนในปี 2008 ได้เรียกร้องถึงสถาปัตยกรรมแห่งความเชื่อมโยง, การเคารพสิ่งรอบข้างแทนที่จะข่มพวกมัน

คูมะเคยระบุถึงหลักปรัชญาในการออกแบบว่า "คุณอาจจะกล่าวว่าเป้าหมายของผมคือการ 'ฟื้นฟูที่นั่น' ("to recover the place") สถานที่นั้นเป็นผลของธรรมชาติและเวลา; นี่เป็นมุมมองที่สำคัญที่สุด" เขามองงานออกแบบของตนเองว่าเป๋น "ออกไปทางการจับธรรมชาติมาใส่กรอบ (some kind of frame of nature) ที่ซึ่งเราสามารถนำธรรมชาติมาทดลองให้ลึกซึ้ง และให้เราเข้าใกล้ธรรมชาติมากขึ้น" เขาระบุถึงสถาปัตยกรรมญี่ปุ่นว่า "[มี]ลักษณะคือความโปร่ง (Transparency) [...] ผมพยายามใช้แสงและวัสดุจากธรรมชาติเพื่อสร้างความโปร่งแบบใหม่ (new kind of transparency)” [4]

นอกจากนี้คูมะยังนิยมทำงานร่วมกับช่างฝีมือญี่ปุ่นทั้งทางด้านไม้และวัสดุอื่น ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงาน ผลงานของคูมะในปี 2016 ได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมยั่งยืนโลก[5]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เค็งโงะ คูมะ http://www.architectural-review.com/view/reviews/k... http://www.checkonsite.com/browse/architect/featur... http://delliscay.com/ http://westbankcorp.com/1550-alberni http://catalogo.bne.es/uhtbin/authoritybrowse.cgi?... http://uli.nli.org.il/F/?func=find-b&local_base=NL... http://www.domusweb.it/en/architecture/meme-meadow... http://www.domusweb.it/en/interview/the-wisdom-tea... http://kuma-lab.arch.t.u-tokyo.ac.jp/ http://kuma-lab.arch.t.u-tokyo.ac.jp/about.html